ว30101

ชีววิทยา 

เซลล์ (Cell) คือ อะไร (What is Cell ?)


เซลล์ (Cell)สามารถเพิ่มจำนวน เจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ เซลล์บางชนิดเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง เช่น เซลล์อสุจิ เป็นต้น
     เซลล์ (Cell)มีอยู่หลายชนิดซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์(cell)และหน้าที่การทำงานของเซลล์(cell) แต่เซลล์(cell)มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน ที่มีเหมือนกัน คือ เยื่อหุ้มเซลล์(cell membrane) ไซโตพลาซึม(cytoplasm)และนิวเคลียส(nucleus) โดยเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์(cell)และกั้นเซลล์(cell)จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายในเซลล์(cell)มีโครงสร้างเล็ก ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) ล่องลอยอยู่ในส่วนของเหลวที่เรียกว่า ไซโตซอล (cytosol) ออร์แกเนลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันมีนิวเคลียส(Nucleus) เป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม(metabolism)ต่าง ๆและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
     สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็ประกอบด้วยเซลล์(cell)ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติและแสดงความเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจนสมบูรณ์ เซลล์(cell)ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
     มีเซลล์(cell)อยู่ในร่างกายของคนเรามากมายหลายชนิด ซึ่งเซลล์(cell)แต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์(cell)ของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจให้เกิดการทำงาน, เซลล์(cell)ของตับอ่อน จะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน(insulin)ที่สามารถช่วยเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
     ในปี พ.ศ.2208 (ค.ศ. 1665) โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบมาใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก พบว่าเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก ประกอบด้วยช่องว่างเล็ก ๆ จำนวนมาก แล้วเรียกช่องที่ว่านี้ว่า “เซลล์ (cell)” ซึ่งเป็นเซลล์(cell)ที่ตายแล้วแต่ยังสามารถคงรูปให้อยู่ได้เพราะมีผนังเซลล์(cell wall)ซึ่งมีความแข็ง หลังจากนั้นก็ทำการค้นคว้าศึกษาในเรื่องของ เซลล์(cell)ของพืช เซลล์(cell)ของสัตว์และเซลล์(cell)ของจุลินทรีย์ต่างๆ เรื่อยมา จนในปี พ.ศ.2382 (ค.ศ. 1839) นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ทีโอดอร์ ชวานน์(Theodor Schwann) และ แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน(Matthias Jakob Schleiden) (ทั้งคู่เป็นชาวเยอรมัน)ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory)ขึ้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น